วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ในธุรกิจโรงพยาบาล เครดิต TheHee FunnyManager


การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) ในธุรกิจโรงพยาบาล
by TheHee FunnyManager on Thursday, August 23, 2012 at 10:34am ·
https://www.facebook.com/notes/thehee-funnymanager/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99-fundamental-analysis-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5/10152064038055624

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงอุตสาหกรรมธุรกิจโรงพยาบาลก่อน โดยส่วนตัวผมจะแบ่งโรงพยาบาลออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ

1. กลุ่มรพ.ชำนาญการพิเศษ กลุ่มรพ.นี้จะมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคแปลกๆพิสดารๆในระดับที่ รพ. ทั่วไปทำไม่ได้ อาจะเป็นด้วยเพราะทุนที่เหนือกว่า บุคคลากรที่ดีกว่า อุปกรณ์ที่พร้อมกว่า ยาที่แพงกว่า...จึงทำให้สาามารถ charge ค่ารักษาพยาบาลได้แบบจัดเต็ม ดังนั้น รพ.นี้จะมี NPM ค่อนข้างสูงหากเทียบกับรพ.อีกกลุ่ม (ในหลักวิชาการ รู้สึกเขาจะเรียก รพ. กลุ่มนี้ว่า ตติยภูมิ หรืออะไรสักอย่างนี่แหละ....คือชื่อมันพิสดาร ผมเลยขอเรียกตามที่ผมถนัดละกัน 555+)


2. กลุ่มรพ.รักษาทั่วไป(ผมจะเรียกกลุ่มนี้ว่า community hospital - รพ.ของชุมชน) คือกลุ่มนี้ถ้ากล่าวถึง ทุน อุปกรณ์ ยา จะด้อยกว่า รพ.ชำนาญการพิเศษ แต่ด้วยความที่รพ.กลุ่มนี้รักษาโรคทั่วไป เช่น อุบัติเหตุ ไข้หวัด ผ่าตัดไส้ติ่ง (อะไรที่พื้นๆ) กลุ่มนี้จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ที่พิสดารมากมายนักเมื่อเทียบกับกลุ่ม รพ. ด้านบน แต่กลุ่มนี้จะ charge ค่ารักษาแบบจัดเต็มคงไม่ได้ ราคาค่ารักษาจึงถูกกว่าหากเทียบกับกลุ่มบน แต่เน้นว่าเป็นโรคที่เข้าออกรพ.บ่อย (เช่น ไข้หวัด) ทำให้กลายเป็นว่ากลุ่มนี้จะเน้น turnover ของคนไข้ไปโดยปริยาย

โดยถ้าเอามาเทียบกับสูตรหารายได้ของรพ. จะยิ่งเห็นภาพพจน์มากขึ้น

รายได้ = จำนวนผู้ป่วย x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อผู้ป่วย

ถ้าเป็นกลุ่มรพ. ชำนาญการพิเศษ แน่นอนครับ แพงโคตรๆ จำนวนผู้ป่วยอาจจะไม่มาก แต่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวสูงลิบลิ่วแบบไม่เห็นฝุ่นแน่นอน ในขณะที่ community hospital นี่ เน้นว่าผู้ป่วยจะเยอะหน่อย...แต่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวผู้ป่วยก็อาจจะต่ำลงมา

แต่ทั้งนี้ การดูหุ้น รพ. เราควรคำนึงถึง

1. รพ.ที่เราดูอยู่ในกลุ่มไหน อยู่กลุ่มรพ.ชำนาญการพิเศษ หรือ รพ.ชุมชน เพราะแต่ละกลุ่ม เวลาผู้ป่วย(หรือญาติผู้ป่วย) ตัดสินใจให้เข้ารับการรักษา การตัดสินใจจะแตกต่างกัน อย่าง รพ.ชำนาญการพิเศษ จะต้องมีการวางแผนหรือศึกษามาแล้วระดับนึง (เช่น ถ้าจะผ่าตัดหัวใจ คงต้องวางแผนว่า จะผ่าเดือนไหน พักกี่เดือน แล้วมีการเลือกรพ.ไว้ล่วงหน้า) แต่ตรงกันข้าม ถ้า รพ.ชุมชน สมมติเราเป็นหวัด เราเคงเลือกเข้าที่ใกล้ๆบ้าน อยู่ในแถบนั้น อาศัยว่าเดินทางสะดวกๆ บริการดีๆเข้าว่า

2. หากเป็น รพ.ชุมชน ควรศึกษาชุมชนรอบนอกและการขยายตัวด้วย หากสถานที่ รพ. ที่ตั้งอยู่มีการขยายตัว ก็เป็นไปได้ว่ามีโอกาสที่ รายได้ และ ผลกำไร ของรพ.นั้นจะเติบโตขึ้นด้วย แต่ถ้าเป็นรพ.ชำนาญการพิเศษ ควรเน้นดูที่ประชากรศาสตร์ (Demographic)

3. capacity หรือจำนวนเตียงที่รับได้ของ รพ. ซึ่งในธุรกิจ รพ. ผลกำไรมักถูกกดดันด้วยข้อจำกัดของ จำนวนเตียง ที่รับได้ของผู้ป่วย ซึ่งหากจำนวนการใช้ capacity อยุ่ในระดับ 80%-90% ถือว่าเริ่มอิ่มตัวแล้ว (คือผลกำไรอาจจะไม่ได้โตขึ้นไปกว่านี้มากมายแล้ว)

4. แผนการในอนาคต บางรพ.ซึ่งมีการใช้ capacity เกือบเต็มมักมีแผนขยาย หรืออะไรประมาณนั้น ให้กลับไปทบทวนงบฯอีกครั้งว่าแผนการขยายนั้น(ซึ่งแน่นอนครับ ต้องใช้เงินลงทุน) จะกดดันผลกำไรหรือเปล่า ถ้ากู้ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย ถ้าเพิ่มทุนหุ้นที่มีอยู่ก็โดน dilute EPS ไป แต่ถ้ามีเงินทุนพร้อมลงทุน ผมว่าไม่น่าห่วง

5. การเปิดรพ.ใหม่(ที่ไม่ได้อยู่บนที่ดินผืนข้างเคียง -- อาจเป็นสาขาใหม่) อาจต้องใช้เวลาคืนทุนสักระยะ (น่าจะไม่ต่ำกว่า 5 ปี) ทั้งนี้ในช่วงเวลานี้ อะไรๆก็เกิดขึ้นได้ (อาจจะผลประกอบการขาดทุน)

6. หากรพ.มีผลกำไรลดลง อย่าเพิ่งตกใจครับ รีบหาข้อมูลว่ามีการปรับปรุงแผนก หรือ ปรับปรุงอะไรใน รพ.หรือเปล่า ซึ่งการปรับปรุงในรพ. จะทำให้ผลประกอบการ drop ลงในช่วงสั้นๆ แต่หลังจากนั้นผลประกอบการจะกลับมาดีกว่าเดิม(โดยส่วนมากนะครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น