ได้สร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นสมุดจดบันทึกส่วนตัวเพื่อไว้อ่านได้ที่ไหนก็ได้ถ้ามีอินเตอร์เน็ต เช่นบันทึกการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และเรื่องราวอื่นๆใช้เตือนสติในการดำเนินชิวิตให้มีความสุขค่ะ ถ้าใครผ่านเข้ามาเจอะเจอไ่ม่ต้องแปลกใจนะค่ะว่าสาระไม่ค่อยมี แต่มันมีสาระสำหรับใจเจ้าของบล็อคนะค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555
มารู้จัดค่าเบต้า จากเวป ไทยเสป็กคูเรเตอร์
http://www.thaispeculator.com/technical-analysis/stock-beta.html
มารู้จักค่าเบต้ากันเถอะ
ค่าเบต้า คือ ค่าสัมประสิทธ์ตัวเปรียบเทียบระหว่างหุ้นตัวใดตัวหนึ่งกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ว่ามีแนวโน้มอย่างไร ซึ่งมีที่มาจากสมการเส้นตรง
y = a + bx
เมื่อ
y คือ ราคาหุ้น
x คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์
a คือ ค่าอัลฟ่า (alpha)
b คือ ค่าเบต้า (beta)
ซึ่งจากสมการจะได้ว่า
ถ้าค่าเบต้าของหุ้นตัวนั้น = 1 หุ้นตัวนั้นจะขึ้น/ลงเป็นปฏิภาคโดยตรงกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์
ถ้าค่าเบต้าของหุ้นตัวนั้น > 1 หุ้นตัวนั้นจะขึ้น/ลงเร็วกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์
ถ้าค่าเบต้าของหุ้นตัวนั้น < 1 หุ้นตัวนั้นจะขึ้น/ลงช้ากว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์
ถ้าค่าเบต้าของหุ้นตัวนั้น < 0 หุ้นตัวนั้นจะขึ้น/ลงเป็นปฏิภาคผกผันกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์
โดยปกติแล้วนักเก็งกำไรมักนิยมเล่นหุ้นที่มีค่าเบต้าสูงกว่า 1 เพราะว่าเมื่อดัชนีตลาดขึ้น หุ้นเหล่านี้จะขึ้นได้มากกว่าตลาด ตามหลักกาที่ว่าผลตอบแทนสูง จะมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย (High Risk, High Return) เพราะเมื่อดัชนีตลาดมีทิศทางขาลง หุ้นเหล่านี้ก็จะลงมากกว่าตลาดเช่นกัน
ค่าเบต้าของหุ้นแต่ละตัวจะไม่เสถียร (Unstable) และเปลี่ยนแปลงตลอด หุ้นที่มีค่าเบต้าสูงในระยะเวลาหนึ่งอาจเป็นหุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำในเวลาต่อมา ดังนั้นหากนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรสามารถหาหุ้นที่ปัจจุบันมีค่าเบต้าที่ต่ำกว่า 1 ในขณะที่ตลาดกำลังซบเซา และค่าเบต้าของหุ้นนี้มีค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 เมื่อตลาดฟื้นตัวหรือเป็นตลาดกระทิงแล้วก็จะสามารถเรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีผลตอบแทนสูง
ในส่วนของค่าอัลฟ่านั้น นักลงทุนควรจะเลือกหุ้นที่มีค่าอัลฟ่าเป็นบวกคือ ในวันที่ตลาดนิ่งๆไม่ไปไหน หุ้นที่มีค่าอัลฟ่าเป็นบวกก็จะสามารถลอยตัวหรือมีค่าเป็นบวกได้ ในขณะที่หุ้นที่มีค่าอัลฟ่าเป็นลบอาจจะมีราคาติดลบได้ ถึงแม้ตลาดไม่มีการเคลื่อนไหว
โดยการหาค่าเบต้านั้นอาจจะสามารถหาได้โดย
1. อ่านจากหนังสือพิมพ์ หรือไปดูที่ข้อมูลจาก SET ได้
2. คำนวณเอง ให้คำนวณจากการทำ regression ระหว่าง ผลตอบแทนหุ้น (อ้างอิงจากราคาหุ้น เป็นตัวแปรตาม) และ ผลตอบแทนตลาด (อ้างอิงจากดัชนีตลาด เป็นตัวแปรอิสระ) โดยใช้ราคาปิดแต่ละวันมาเป็นฐานคำนวณก้อได้ แต่ปัญหาคือ จะใช้จำนวนข้อมูลมากแค่ไหน 1 ปี 5 ปี 10 ปี แล้วแต่วิจารณญาณนะครับ
สุดท้ายนี้จะขอยกกลยุทธ์การลงทุนโดยใช้ค่าเบต้า โดยคุณวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล จาก บล.ทรินีตี้ มาลงไว้ที่นี้
ในภาวะที่เศรษฐกิจผันผวนและการเมืองไม่แน่นอน เราควรเลือกกลุ่มหุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำ เพื่อลดความผันผวน แต่ถ้าเศรษฐกิจเป็นขาขึ้นแล้วนั้น การใช้กลยุทธ์เลือกหุ้นเบต้าสูงจะให้ผลตอบแทนที่เร็วกว่า เราสามารถสรุปการใช้กลยุทธ์ ดังนี้
หนึ่ง โดยปกติหุ้นกลุ่มวัฏจักร สถาบันการเงินและกลุ่มที่ดินจะเป็นหุ้นกลุ่มที่มีค่าเบต้าสูงในขณะที่หุ้น กลุ่มพลังงาน และกลุ่มสาธารณูปโภคจะเป็นหุ้นกลุ่มเบต้าต่ำ
สอง ถ้านักลงทุนคาดการณ์ว่าตลาดหุ้นน่าจะเป็นขาขึ้น และเศรษฐกิจสดใส ดอกเบี้ยเริ่มชะลอตัวลง ควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้าสูง ในขณะที่หากนักลงทุนคาดการณ์ว่าตลาดหุ้นน่าจะเป็นขาลง กลยุทธ์การลงทุนคือการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำใน Portfolio ให้มากขึ้น หรืออาจจะเป็นเงินสดก็ได้
สาม หุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำ จะมีลักษณะมีเงินปันผลสูง มีขนาดราคาตลาดของหุ้น (Market Capitalization) สูง และมีสินทรัพย์ที่มั่นคง ในทางตรงกันข้ามหุ้นที่มีเงินปันผลน้อย มีขนาดราคาตลาดของหุ้น (Market Capitalization) ต่ำ จะมีค่าเบต้าสูง
สี่ ค่าเบต้าของหุ้นแต่ละตัวจะไม่เสถียร (Unstable) และเปลี่ยนแปลงตลอด หุ้นที่มีค่าเบต้าสูงในระยะเวลาหนึ่งอาจเป็นหุ้นที่มีค่าเบต้าต่ำในเวลาถัด ไป โดยปกติ ค่าเบต้ามีแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง เพราะค่าเบต้าของหุ้นกลุ่มไหนสูงกว่า 1 มากๆ ตลาดที่มีประสิทธิภาพจะเป็นตัวปรับค่าเบต้านั้นลงมาเอง
ห้า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเบต้า คือ ผลประกอบการ การคาดหวัง และการตอบสนองของนักลงทุนต่อหุ้นนั้นๆ
กล่าวโดยสรุป กลยุทธ์การลงทุนโดยใช้ค่าเบต้าเป็นตัววัด จะให้ผลตอบแทนสูง ถ้าเราสามารถอ่านทิศทางของตลาดได้อย่างถูกต้อ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น